มนุษย์เงินเดือนหลายคน น่าจะคุ้นเคยกับการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี และการจ่ายภาษีกันอยู่บ้างแล้ว แต่หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่นภาษีมาก่อน และยังจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าหากต้องยื่นภาษีต้องเริ่มต้นอย่างไรดี? ต้องใช้เอกสารอะไรในการยื่นภาษี ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง? เราได้รวบรวมข้อสงสัยสุดฮิตพร้อมคำตอบที่เกี่ยวกับการยื่นภาษี 2566 ไว้ในบทความนี้แล้ว
ยื่นภาษี 2567 ครั้งแรก ต้องรู้อะไรบ้าง?
1. ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี
การยื่นภาษีเงินได้ประจำปี เป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด และหลายคนมักจะมีความกังวลว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราทำการยื่นภาษี เราจะต้องเสียภาษีด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าคุณจะยื่นภาษีเงินได้ประจำปีก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มเสมอไป ทั้งนี้เพราะการยื่นภาษี คือการแสดงรายได้ที่ได้รับมาตลอดทั้งปีเท่านั้น เท่านั้น โดยปกติการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี จะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปี
แต่ การเสียภาษี คือ หน้าที่ของผู้เสียภาษีที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ มีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท โดยคุณสามารถคำนวณเงินได้สุทธิได้ง่ายๆ โดยคำนวณจาก
“เงินได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ฿100,000 – ค่าลดหย่อนส่วนตัว (฿60,000) – ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม (฿9,000) = เงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี”
- เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ต้องทำการยื่นภาษีเท่านั้น ไม่ต้องเสียภาษี
- เงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท ต้องทำการยื่นภาษีและเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ
ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาล โดนค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม สำหรับการยื่นภาษี 2566 (ยื่นต้นปี 2567) เงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะอยู่ที่ 9,000 บาท (อ่านเพิ่มเติมที่ได้ ค่าลดหย่อนภาษี 2566)
2. เงินได้ คืออะไร?
เงินได้ คือ รายได้ที่เราได้รับจากการทำงาน ขายของ ขายของออนไลน์ ฯลฯ ไม่ว่ารายได้ของคุณจะเป็นเงินสด ทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์ที่ตีราคาได้ เครดิตเงินปันผล ฯลฯ ล้วนเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นมีกฎหมายระบุไว้ว่า รายได้ของคุณได้รับการยกเว้นภาษี
3. เงินเดือนเท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?
หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากงานประจำอย่างเดียว และเป็นผู้มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท (หรือมีเงินเดือน 10,000 บาท) ไม่ต้องยื่นภาษี และมีการกำหนดขอบเขตของรายได้ที่ต้องยื่นภาษีและต้องเสียภาษีเพิ่มเติมไว้ดังนี้
ค่าภาษีตามฐานเงินเดือนเบื้องต้น | ||
เงินเดือน (บาท) | อัตราเสียภาษี (%) | เสียภาษีไม่เกิน (บาท) |
20,000 | - | - |
30,000 | 5% | 2,050 |
40,000 | 10% | 8,600 |
50,000 | 10% | 20,600 |
60,000 | 10% | 31,150 |
70,000 | 15% | 53,150 |
80,000 | 20% | 73,200 |
90,000 | 20% | 97,200 |
100,000 | 25% | 122,750 |
ค่าภาษีตามฐานเงินเดือนตามตารางข้างต้น คิดจากค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และเงินประกันสังคม 9,000 บาทเท่านั้น หากคุณมีสิทธิลดหย่อนภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม ค่าภาษีที่ต้องจ่ายก็อาจจะลดลง รวมถึงโอกาสได้รับเงินคืนภาษีก็จะมากขึ้นด้วย
4. ใบ 50 ทวิ คืออะไร ขอได้จากใคร?
ใบ 50 ทวิ หรือ หนังสือหัก ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ใช้ยืนยันว่าการรับเงินค่าจ้างของคุณถูกหัก ณ ที่จ่ายเรียบร้อยแล้ว และเป็นเอกสารที่ช่วยให้คุณยื่นภาษีได้ง่ายขึ้น เพราะคุณสามารถนำรายได้ที่ได้รับทั้งปีและภาษี ณ ที่จ่ายที่ถูกหักสะสม มากรอกยื่นภาษีได้ทันที ซึ่งคุณสามารถขอใบ 50 ทวิ หรือ หนังสือหัก ณ ที่จ่าย ได้จากบริษัท หรือ คนที่จ่ายเงินค่าจ้างให้คุณ
และไม่ว่าคุณจะมีรายได้จากการทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ เป็นฟรีแลนซ์ หรือประกอบอาชีพอิสระ ทุกครั้งที่ได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องได้รับใบ 50 ทวิเหมือนกัน โดยกฎหมายได้กำหนดระยะเวลาที่คุณจะต้องได้รับหนังสือหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ไว้ดังนี้
4.1 กรณีทำงานประจำ แบ่งเป็น 2 กรณี
- ทำงานจนถึงสิ้นปี นายจ้างหรือบริษัทจะต้องออกใบ 50 ทวิ ให้แก่ลูกจ้างภายในวันที่ 15 ก.พ. ปีถัดไป
- ออกจากงานระหว่างปี นายจ้างหรือบริษัทจะต้องออกใบ 50 ทวิ ให้แก่ลูกจ้างภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
4.2 กรณีเป็นคนทำงานอิสระ (Freelance) หรือมีรายได้อื่นๆ
หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ ประกอบอาชีพอิสระ หรือรายได้อื่นๆ คุณจะต้องได้รับใบ 50 ทวิทุกครั้งที่มีการรับเงิน เพราะกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินหรือผู้ว่าจ้าง ต้องออกใบ 50 ทวิ ให้ผู้รับเงิน หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที
5. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร?
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คือ เลขที่กรมสรรพากรกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานในการบริหารจัดเก็บภาษี และถูกระบุอยู่ที่ส่วนบนของหนังสือหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ที่คุณได้รับ เมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้างแก่คุณ โดยสามารถแบ่งออกเป็น
- ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (บริษัท, ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) เลขทะเบียนนิติบุคคล ที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือ เลขประจำตัวคนต่างด้าว
6. ภ.ง.ด. 90 กับ ภ.ง.ด. 91 ต่างกันอย่างไร?
แม้ว่าภ.ง.ด. 90 กับ ภ.ง.ด. 91 คือแบบฟอร์มที่แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่
- ภ.ง.ด. 90 คือ แบบฟอร์มสำหรับผู้เสียภาษีที่มีรายได้อื่นๆ นอกเหนือจากการทำงานประจำหรือเงินเดือน
- ภ.ง.ด. 91 คือ แบบฟอร์มสำหรับผู้เสียภาษีที่มีรายได้จากการทำงานประจำหรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
7. เด็กจบใหม่ทำงานไม่ถึงปี ต้องยื่นภาษีมั้ย?
เด็กจบใหม่ทำงานไม่ถึงปีก็ต้องยื่นภาษี เพราะการยื่นภาษีเป็นเรื่องของรายได้ ไม่ใช่เรื่องของอายุหรือระยะเวลาการทำงาน และถึงแม้คุณจะเป็นเด็กจบใหม่ที่มีอายุงานยังไม่ครบ 1 ปี หรือมีอายุน้อยกว่า 18 ปี หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษี ก็ต้องทำการยื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปีเหมือนผู้มีรายได้คนอื่นๆ
8. มีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีได้ไหม?
บอกก่อนว่า คุณจะได้รับการยกเว้นการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ต่อเมื่อ คุณมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท หรือมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาทเท่านั้น แต่หากคุณมีรายได้ทั้งปีมากกว่า 120,000 บาท คุณจะต้องทำการยื่นภาษีทุกปี แม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม โดยกฎหมายได้กำหนดขอบเขตของรายได้ที่ต้องยื่นภาษีและต้องเสียภาษีเพิ่มเติมไว้ดังนี้
- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี
- เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
- เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
- ในกรณีที่มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท และไม่ได้จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี
- ในกรณีที่มีเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท และจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี
สำหรับใครที่สงสัยว่า สรรพากรทราบรายได้ต่อปีของคุณได้อย่างไร? เราต้องบอกว่า สรรพากรมีข้อมูลรายได้ของผู้เสียภาษีทุกคนอยู่แล้ว เพราะบริษัทจะต้องทำการหัก ณ ภาษีที่จ่ายไว้ และบริษัทที่ว่าจ้างคุณจะต้องส่งข้อมูลการหัก ณ ที่จ่ายให้สรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สรรพากรรู้ได้ไม่ยากว่า คุณมีรายได้เท่าไหร่ และมีรายได้จากบริษัทหรือนายจ้างคนไหนบ้าง
9. รับเงินเดือน หรือค่าจ้างเป็นเงินสด ต้องยื่นภาษีไหม?
หลายคนมักจะเลือกรับค่าจ้างเป็นเงินสดเพราะไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และมีความเชื่อว่า การรับเงินสดจะทำให้สรรพากรไม่มีทางรู้ว่าคุณมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่าไหร่ แต่ความเชื่อดังกล่าวอาจจะไม่ถูกนัก ทั้งนี้เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างแบบเงินสด หรือ ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่บริษัทที่จ่ายเงินค่าจ้างจะต้องส่งรายการค่าใช้จ่ายของบริษัทให้สรรพากร (รวมถีงข้อมูลเงินค่าจ้างของคุณด้วย) ทำให้สรรพากรก็สามารถรู้ได้ว่าทั้งปีที่ผ่านมาคุณมีรายได้จากบริษัทไหน เท่าไหร่บ้าง
และหากคุณมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ยื่นภาษีเงินได้ประจำปีให้เรียบร้อย คุณจะมีความผิดตามกฎหมาย และมีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท จำคุกสูงสุด 1 ปี และในบางกรณีคุณอาจจะต้องเจอกับค่าปรับและเงินเพิ่มด้วย
10. ย้ายงานระหว่างปี ต้องยื่นภาษีอย่างไร?
ขั้นตอนการยื่นภาษีสำหรับคนที่ที่ย้ายงานระหว่างปี หรือลาออกจากงานแล้วทำงานที่ใหม่ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลายคนคิด โดยคุณสามารถนำรายได้ที่ได้รับจากบริษัททั้ง 2 แห่ง เงินสมทบประกันสังคม ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาบวกรวมกันและยื่นภาษีได้เลย ส่วนหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (นายจ้างหรือบริษัท) ให้เลือกกรอกหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เราสูงที่สุดในปีนั้น
11. ยื่นภาษีผิด ทำอย่างไรดี?
การยื่นภาษีผิดแทบจะเป็นเรื่องปกติของผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็น กรอกค่าลดหย่อนภาษีไม่ครบ, กรอกเงินได้ไม่ครบ ฯลฯ หากคุณยื่นภาษีไปแล้วก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะคุณสามารถยื่นภาษีใหม่อีกครั้งได้ด้วยการ เริ่มต้นยื่นภาษีใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก และคุณสามารถทำการยื่นภาษีใหม่กี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาการยื่นภาษี
- ยื่นภาษีแบบกระดาษ ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567
- ยื่นภาษีออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 เมษายน 2567
11.1. กรณียื่นภาษีออนไลน์
คุณสามารถกรอกข้อมูลใหม่ ซึ่งระบบจะเตือนว่า คุณทำการยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก “การยื่นเพิ่มเติม” และแก้ไขเป็นข้อมูลรายได้ที่ถูกต้อง ในกรณีที่คุณทำการยื่นภาษีเพิ่มเติม เราแนะนำให้คุณตรวจสอบรายละเอียดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลรายได้ ข้อมูลค่าลดหย่อน จำนวนภาษีที่ถูกหักไว้ ให้ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นยื่นภาษีใหม่อีกครั้ง
11.2. ยื่นภาษีผิด ได้เงินคืนภาษีแล้ว ต้องทำอย่างไร?
ส่วนใครที่ยื่นภาษีผิดและได้รับเงินคืนภาษีจากสรรพากรเรียบร้อยแล้วแต่พบว่า
- ได้รับเงินคืนภาษีมากกว่า ติดต่อกับเจ้าหน้าที่สรรพากรเขตพื้นที่สาขา แจ้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จากนั้นสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษีตามการยื่นภาษีครั้งใหม่ให้แก่คุณ
- ได้รับเงินคืนภาษีไม่ครบ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะทำการโอนเงินคืนภาษีในส่วนที่เหลือให้คุณอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาแบบแสดงรายการภาษีที่คุณยื่นแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
แต่บอกก่อนว่า ในกรณีที่คุณต้องได้รับเงินคืนภาษี แต่ยื่นภาษีผิด อาจจะทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีช้ากว่าเดิม เพราะเจ้าหน้าที่ต้องทำการตรวจสอบแบบภาษีที่คุณยื่นใหม่อีกครั้ง จึงเป็นเหตุผลให้คุณได้รับเงินคืนภาษีช้านั่นเอง
12. ยื่นภาษีไว แต่ทำไมได้เงินคืนภาษีช้า
สาเหตุที่ทำให้คุณได้เงินคืนภาษีช้านั้นประกอบไปด้วย
- ยื่นภาษีไม่ครบ เช่น กรอกรายได้ไม่ครบถ้วน ทำให้สรรพากรต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบว่า รายได้ที่คุณยื่นมา ตรงกับข้อมูลที่สรรพากรมีหรือไม่
- เอกสารไม่ครบ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารยืนยันรายได้ หรือเอกสารเกี่ยวกับการใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษี ฯลฯ และแน่นอนว่า หากคุณเตรียมเอกสารครบถูกต้องทุกอย่าง คุณก็จะได้รับเงินคืนภาษีเร็วตามไปด้วย
- ไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เจ้าหน้าที่สรรพากรจะทำการโอนเงินคืนภาษีในส่วนที่เหลือให้คุณอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาแบบแสดงรายการภาษีที่คุณยื่นแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
ทั้งหมดนี้คือ 12 ข้อข้องใจสุดฮิตของผู้เสียภาษีที่เรารวบรวมมาให้คุณ เพื่อให้คุณสามารถเตรียมตัวสำหรับการยื่นภาษี 2566 (ยื่นภาษีต้นปี 2567) และเริ่มวางแผนทางการเงินสำหรับการช้อปสินค้าลดหย่อนภาษี และการจัดการจ่ายภาษีได้อย่างราบรื่น
และสำหรับคนที่มีความกังวลและไม่แน่ใจว่า หลังจากยื่นภาษีและจ่ายภาษีแล้ว เราจะมีเงินพร้อมใช้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ หรือไม่ เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ วงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร ตัวช่วยดีๆ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินสำรองพร้อมใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินแค่ไหน พร้อมความสะดวกสบายที่มากกว่า เพราะคุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องง้อบัตร คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น
สมัครสินเชื่อเงินสด สินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
วงเงินสำรองพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป สามารถสมัครวงเงินสดพร้อมใช้ สินเชื่อเอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/extra.html
- แอดไลน์ @cimbpersonalloan https://lin.ee/I1JAHpA
- สมัครสินเชื่อออนไลน์ ผ่านแอป CIMB THAI ของธนาคาร ดาวน์โหลดได้เลย ทั้งระบบ IOS และ Android คลิก
เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล
- อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- อัตราดอกเบี้ย CLR ณ. วันที่ 4 ตุลาคม 2566 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777