คำถามสุดฮิตช่วงเทศกาลยื่นภาษีเงินได้ประจำปีคงหนีไม่พ้น “ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว จะได้เงินคืนภาษีเมื่อไหร่” หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างรอเงินคืนภาษี แต่ไม่แน่ใจว่าเราจะได้เงินคืนภาษีเมื่อไหร่ เช็กสถานะเงินคืนภาษีได้ช่องทางไหน บทความนี้มีคำตอบ
4 เหตุผลที่ทำให้ได้เงินคืนภาษีช้า
หลายคนมักจะคิดว่า การที่เรายื่นภาษีเร็วจะทำให้เราได้รับเงินคืนภาษีเร็วตามไปด้วย แต่ในความจริงนั้น การที่คุณจะได้เงินคืนภาษีเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยหลักๆ ที่คุณมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็น
1. ยื่นภาษีไม่ครบ หรือข้อมูลไม่ถูกต้อง
ความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการยื่นภาษีมาก สิ่งที่มักจะพบบ่อยในการยื่นภาษีทุกๆ ปี คือ กรอกข้อมูลรายได้ไม่ครบ หรือ ลืมกรอกข้อมูลรายได้บางส่วน ทำให้ข้อมูลที่คุณยื่นไปกับข้อมูลที่เจ้าหน้าที่สรรพากรมีไม่ตรงกัน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลนานขึ้น ทำให้คุณได้เงินคืนภาษีช้ากว่าที่ควรจะเป็น
แต่ไม่ว่าคุณจะกรอกภาษีผิด โดยมีสาเหตุจากการกรอกรายได้ หรือค่าลดหย่อนไม่ครบ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะคุณสามารถยื่นภาษีใหม่กี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาการยื่นภาษี และสำหรับการยื่นภาษี 2566 (ยื่นต้นปี 2567) กรมสรรพากรได้กำหนดระยะเวลาที่คุณสามารถยื่นภาษีได้ไว้ดังนี้
- ยื่นภาษีแบบกระดาษ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567
- ยื่นภาษีออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 เมษายน 2567
2. ยื่นภาษีผิด หรือยื่นภาษีมากกว่า 1 ครั้ง
แม้กรมสรรพากรจะเปิดโอกาสให้คุณสามารถยื่นภาษีใหม่ได้ตลอดระยะเวลายื่นภาษี แต่การกรอกข้อมูลรายได้และค่าลดหย่อนไม่ครบ หรือการยื่นภาษีผิดจะส่งผลให้คุณได้รับเงินคืนภาษีช้ากว่าที่คุณคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เพราะ เมื่อคุณทำการยื่นภาษีใหม่ การเข้าคิวเพื่อตรวจสอบข้อมูลและรับเงินคืนภาษีก็ใหม่ไปด้วย
ดังนั้น หากคุณไม่อยากรอเงินคืนภาษีนาน เราแนะนำให้คุณเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี อาทิ เอกสารระบุข้อมูลรายได้ (ใบ 50 ทวิ) เอกสารค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ ให้ครบถ้วนและตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูลก่อนทำการยื่นภาษี เพื่อป้องกันการยื่นภาษีผิด และต้องยื่นภาษีใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณอาจได้รับเงินคืนภาษีช้ากว่าที่ควรจะเป็น
3. ส่งเอกสารเพิ่มเติมล่าช้า
หลายคนมักจะลืมติดตามสถานะยื่นภาษีหลังยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี ทำให้ไม่ทราบว่าในบางครั้งเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมีการขอเอกสารเพิ่มเติมด้วย และเมื่อรู้ตัวช้าจึงเป็นเหตุให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมล่าช้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณได้เงินคืนภาษีช้าตามไปด้วยนั่นเอง
ในกรณีที่คุณได้รับหนังสือแจ้งให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะการที่เจ้าหน้าที่สรรพากรขอเอกสารภาษีเพิ่มเติมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติในช่วงการยื่นภาษี และสิ่งที่คุณต้องทำคือ ส่งเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรระบุมา โดยปัจจุบันคุณสามารถเลือกได้ว่าจะจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมผ่านช่องทางออนไลน์ (PDF), FAX หรือผ่านทางไปรษณีย์
ขั้นตอนการอัปโหลดเอกสาร การขอคืนภาษีด้วยตนเอง (ผ่านช่องทางออนไลน์)
สำหรับผู้เสียภาษีที่ต้องการอัปโหลดเอกสาร การขอเงินคืนภาษีด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ คุณสามารถอัปโหลดเอกสารได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เขียนเบอร์โทรศัพท์ของผู้เสียภาษีไว้ในเอกสาร (เพื่อสะดวกต่อการติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่)
- ถ่ายรูปเอกสาร(ด้วยโทรศัพท์มือถือ) ของผู้เสียภาษีทุกฉบับที่ต้องการนำส่ง ให้ชัดเจน
- เข้าเว็บไซต์ "กรมสรรพากร" www.rd.go.th
- เลือก "สอบถามการคืนภาษี"
- กรอกข้อมูลของผู้เสียภาษี (ชื่อผู้เสียภาษี, ชื่อสกุล,เลขประจำตัวผู้เสียภาษี) เลือกปีภาษีที่ต้องการอัปโหลดนำส่งเอกสาร และสอบถาม
- เลือก "อัปโหลดเอกสาร"
- เมื่ออัปโหลดเอกสารแล้วจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมาให้ผู้เสียภาษีเข้าไปเลือกรูปภาพที่ถ่ายไว้ ตามข้อ(2)
- เมื่อผู้เสียภาษีอัปโหลดเอกสารเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก "ยืนยันการส่ง"
หมายเหตุ
- สำหรับการขอเอกสารเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งผู้เสียภาษีเท่านั้น กรมสรรพากรไม่มีนโยบายโทรสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลทางการเงิน และไม่มีการขอเงินคืนภาษีหรือทำธุรกรรมที่ตู้ ATM แต่อย่างใด
- หากหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีสูญหาย ผู้ขอคืนเงินภาษีสามารถติดต่อขอออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) ฉบับใหม่ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือยื่นคำร้องขอให้ออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) ฉบับใหม่ ค.39 ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > เลือกเมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี
4.ลืมสมัครพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน
ปกติกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี แต่สำหรับผู้เสียภาษีที่ทำการยื่นภาษีออนไลน์ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม และไม่เคยมีประวัติหลบเลี่ยงภาษีหรือยื่นรายได้ไม่ครบ กรมสรรพากรยืนยันว่า คุณจะได้รับเงินคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนภายใน 3 วัน
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเพิ่งมีประสบการณ์ยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่นภาษีมาหลายครั้งแต่ได้รับเงินคืนภาษีเป็นครั้งแรก เราแนะนำให้คุณสมัครพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชนให้เรียบร้อย เพื่อที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วทันใจนั่นเอง
ย้ำอีกครั้งว่า ปัจจุบันกรมสรรพากรมีช่องทางในการคืนเงินภาษีเพียง 2 ช่องทาง คือ คืนเงินภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนและ คืนเงินภาษีผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น
วิธีเช็กสถานะเงินคืนภาษี 2566
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า นอกจากจะสามารถขอเงินคืนภาษีหลังจากยื่นภาษีเงินได้ประจำปีแล้วนั้น คุณยังสามารถขอเงินคืนภาษีได้แม้จะครบกำหนดระยะเวลายื่นภาษีไปแล้วอีกด้วย โดยอ้างอิง มาตรา 27 ตรี ประมวลรัษฎากรระบุไว้ว่า จะต้องขอเงินคืนภาษีในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นภาษี
คุณสามารถตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษี หรือสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้
- เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเลือก “บริการสอบถามข้อมูล การขอคืนภาษี กงด 90/กงด91(E-Refund) ”
- กรอกข้อมูลส่วนตัว อาทิ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อผู้เสียภาษี (ไม่มีคำนำหน้า) นามสกุล
- กดสอบถาม
- หลังจากนั้นจะได้พบกับสถานะเงินคืนภาษี
หมายเหตุ : กรณียื่นภาษีผ่านกระดาษ จะสามารถเช็กสถานะเงินคืนภาษีได้หลังจากทำการยื่นแบบภาษีได้ 1 วัน ( อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.rd.go.th/region/07/fileadmin/067/004_pdf/TaxRefund.pdf)
ขอเงินคืนภาษี แต่ไม่ได้รับเงินคืนภาษี หรือได้เงินคืนน้อยกว่าที่เคยคำนวณได้
กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอคืนเงินภาษีแต่ไม่ได้รับเงินคืนภาษีที่ขอคืน หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน หากไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาคืนเงินภาษีดังกล่าว ให้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ค.30 หรือ ค.21 (แล้วแต่กรณี) จากนั้นให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหนังสือแจ้งฯ พร้อมชี้แจงข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานประกอบ
สำหรับผู้เสียภาษีที่มีข้อสงสัย และอยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินคืนภาษีเพิ่มเติม หรืออยากสอบถามสถานะเงินคืนภาษี สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ที่ Call Center 1161 หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ
แต่ผู้เสียภาษีคนไหนที่ไม่ได้รับเงินคืนภาษีในปีนี้ และต้องจ่ายภาษีเพิ่ม และกำลังกังวลใจว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายภาษีจะมีเงินพร้อมจ่ายภาษีหรือไม่ กรมสรรพากรให้คุณสามารถผ่อนจ่ายภาษีได้ 3 งวด (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการผ่อนจ่ายภาษี 2566 ) หรือ
เลือกสมัคร สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ วงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร ที่จะช่วยให้คุณมีเงินสำรองพร้อมใช้ตลอดเวลา เพราะคุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องง้อบัตร คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น
สมัครสินเชื่อเงินสด เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาท ขึ้นไป สามารถสมัครวงเงินสดพร้อมใช้ สินเชื่อเอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบุคคล วงเงินสำรองพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/extra.html
- แอดไลน์ @cimbpersonalloan https://lin.ee/I1JAHpA
- สมัครสินเชื่อออนไลน์ ผ่านแอป CIMB THAI ของธนาคาร ดาวน์โหลดได้เลย ทั้งระบบ IOS และ Android คลิก
เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล
- อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- อัตราดอกเบี้ย CLR ณ วันที่ 4 ต.ค. 66 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777