เทคนิควางแผนเกษียณสำหรับคนโสด

คนโสด วางแผนเกษียณอย่างสมาร์ท สตาร์ทอย่างไรดี?

ทุกวันนี้ คนไทยมีแนวโน้มครองความโสดกันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การเตรียมตัวสำหรับการวางแผนเกษียณแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นทำงานได้ยิ่งดี สำหรับคนที่เลือกที่จะอยู่เป็นโสดแน่ๆ ยิ่งต้องมีการวางแผนอย่างดี เพราะคุณต้องดูแลทั้งสุขภาพร่างกาย การเงิน การใช้ชีวิต ซึ่งหากคุณคิดจะเป็นโสดอย่างสมาร์ท อยากรู้ไหม? ว่าคุณต้องเตรียมตัวมากขนาดไหน และเตรียมอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

คนโสดวางแผนเกษียณอย่างไร ให้สมาร์ท


1. เตรียมที่อยู่อาศัยไว้ให้พร้อมสำหรับการสูงวัย


สิ่งแรกที่ต้องคำนึงในการเลือกที่อยู่อาศัยคือ คุณจะดูแลตัวเองอย่างไรในยามที่เจ็บป่วยอย่างไร สำหรับคนที่วางแผนจะอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิมที่มีญาติสนิทอยู่ในละแวกเดียวกัน แบบนี้ก็อาจไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะอาจมีคนช่วยดูแลได้ แต่อาจต้องทำการปรับรูปแบบบ้านให้เหมาะกับการใช้ชีวิต เช่น ปรับห้องนอนให้อยู่ชั้นล่าง ปรับพื้นเป็นกระเบื้องแบบกันลื่นในห้องน้ำ มีราวจับช่วยพยุงตัว หรือสิ่งอื่นๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เรา ก็จะช่วยให้ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น

การเลือกพักอาศัยในคอนโดมิเนียมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในปัจจุบัน เพราะเป็นที่พักอาศัยที่มีความปลอดภัยสูง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม อีกทั้งในบางโครงการที่มีการจัดการที่ดี มีฝ่ายนิติบุคคลคอยช่วยเหลือเราได้ในยามป่วยไข้ และยังมีกิจกรรมให้ทำช่วยคลายเหงาได้อีกด้วย

หรืออีกทางเลือกคือ สถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบทั้งของรัฐบาลและเอกชน เช่น สวางคนิเวศ ของสภากาชาดไทย และอีกหลายๆ แห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งการอยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันก็สามารถช่วยผ่อนคลายความเหงาได้

2. เก็บออมเงินตั้งแต่วันนี้ จะใช้จ่ายเท่าไหร่ต้องคำนวณไว้ล่วงหน้า


การออมเงินสำหรับใช้หลังเกษียณ ถือได้ว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อใช้สำหรับดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ค่ากิน ค่ายา ค่าหมอ ค่าประกัน ค่าน้ำไฟ ที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ค่าท่องเที่ยว ค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน ทุกวันนี้มีโปรแกรม และแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยให้คุณคำนวณเงินสำหรับใช้ชีวิตวัยเกษียณได้ง่ายๆ ว่าคุณต้องเก็บหรือวางแผนใช้จ่ายอย่างไรจึงจะพอ ยิ่งเริ่มต้นเร็ว ยิ่งออมเงินได้ตามเป้าหมายเร็วขึ้น

3. การลงทุน เพื่อให้สร้างผลตอบแทนระยะยาว


การลงทุน จะช่วยสร้าง “ความมั่นคง” ให้กับชีวิตในอนาคตทั้งสำหรับคนโสดและคนมีครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน หรือโครงการที่มีศักยภาพ เช่น โครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะถึงแม้ว่าคุณอาจจะยังไม่ได้เข้าไปอยู่เร็วๆ นี้ แต่สามารถลงทุนเพื่อปล่อยเช่าได้ เพราะแนวโน้มความต้องการโครงการประเภทนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนคอนโด เพื่อปล่อยเช่า ขายต่อ ก็สามารถสร้างรายได้ในระยะยาวและเป็นมรดกได้อีกด้วย

หรือหากใครไม่ชอบลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ คุณอาจเลือกการลงทุนรูปแบบอื่น เช่น ซื้อกองทุนรอเงินปันผล สลากออมสิน เป็นต้น สำหรับแนวคิดการจัดพอร์ตลงทุน ให้ดูระดับความเสี่ยงของตัวเองที่รับได้ในการลงทุน และต้องเข้าใจความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่เราจะลงทุนด้วย เพื่อให้การจัดพอร์ตเป็นไปอย่างเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนคือ คุณต้องให้เวลาและทำความเข้าใจในสินทรัพย์ที่ลงทุน ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านด้วยตัวคุณเอง

4. เตรียมพร้อมจ่ายค่ารักษาพยาบาล


เมื่ออายุมากขึ้น ย่อมหนีไม่พ้นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งบางโรคนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ดังนั้น วิธีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระเงินที่จะเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณได้ นั่นก็คือ การทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง โดยเลือกแผนประกันที่เหมาะกับตัวเองและสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด ซึ่งบางกรมธรรม์ยังนำไป ลดหย่อนภาษี ได้อีกด้วย และคุณควรใส่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไปด้วย

นอกจากการวางแผนทั้ง 4 ด้านให้พร้อมแล้ว การตั้งเป้าหมายหลังชีวิตเกษียณก็เป็นอีกเรื่องที่คุณควรทำ เพื่อให้มีเป้าหมายในการดำรงชีวิตและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นครูอาสา เป็นต้น

เทคนิคการออมเงิน สำหรับคนโสด


เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงเริ่มมองเห็นแล้วว่า ในแผนทุกๆ ข้อ ล้วนต้องอาศัยการออมเงินเป็นหลัก ดังนั้นวิธีการออมของคนโสดก็ไม่แตกต่างไปจากคนทั่วไป นั่นคือ “ออมก่อน รวยก่อน” แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่า ควรมีหลักในการตั้งเป้าเงินออมอย่างไร วันนี้จึงอยากแนะนำเทคนิคการออมเงินหลังเกษียณมาฝาก โดยเริ่มต้นจากเมื่อเงินเดือนออก ต้องแบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. เงินออม


เราแนะนำให้คุณตั้งเป้าไว้เลยว่าหลังเกษียณ คุณอยากจะใช้เงินเดือนละกี่บาท แล้วประเมินว่าตัวเองจะมีอายุต่อไปอีกกี่ปี เช่น จะใช้เดือนละ 20,000 บาท (240,000 บาทต่อปี) และจะมีอายุตอน 85 ปี สมมติว่าเกษียณอายุ 60 แสดงว่ามีชีวิตหลังเกษียณ 25 ปี

นั่นหมายความว่า คุณต้องเก็บเงินให้ได้ก่อนเกษียณอย่างน้อยๆ 6 ล้านบาท จากนั้นทุกๆ เดือน คุณก็ควรกันเงินไปออม ไปลงทุน ส่วนจะออมมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกำลังของตัวเอง แต่ให้นึกถึงเป้าหมายเอาไว้ เพื่อมีแรงจูงใจในการออมเงิน

2. เงินจ่ายภาระหนี้


เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ ค่าผ่อนรถ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คุณควรรู้จักใช้เท่าที่จำเป็น ต้องบริหารให้ดี ไม่ควรใช้จ่ายเกินตัว เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาได้ และควรคิดให้ดีก่อนใช้

3. เงินสำรองฉุกเฉิน

ในแต่ละเดือนจะต้องกันเงินก้อนหนึ่งเพื่อใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยกะทันหัน หรืออุบัติเหตุต่างๆ จะได้มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าเหตุฉุกเฉินแค่ไหนจะยังมีเงินก้อนสำรองให้อุ่นใจอยู่เสมอ

4. เงินใช้จ่ายชีวิตประจำวัน


หลังจากกันเงินทั้งสามก้อนแล้ว จะมีเงินเหลือไว้ใช้สำหรับชีวิตประจำ เช่น กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง ซึ่งเงินก้อนนี้สามารถใช้ได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวล แต่ก็ต้องใช้อย่างพอดี เพื่อป้องกันไม่ให้ไปดึงเงินส่วนอื่นมาใช้

สำหรับท่านใดที่คิดว่าชีวิตนี้คงโสดแน่แล้ว สามารถวางแผนด้านการเงินไว้ได้เลย โดยอาจเริ่มต้นจาการเคลียร์หนี้ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หนี้บ้าน หนี้รถ ฯลฯ เพื่อช่วยให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

และหากคุณสนใจอยากเริ่มต้นวางแผนปลดหนี้อย่างมีระบบ เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อรวมหนี้ สำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ช่วยลดยอดผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการปลดหนี้ได้ชัดเจนขึ้น สมัครง่าย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน

สมัครสินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช (Personal Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 3 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 9.99% ถึง 25% ต่อปี

หรือหากคุณกำลังวางแผน รีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อลดดอกเบี้ยบ้านให้น้อยลง ปลดหนี้บ้านได้เร็วขึ้น และไม่อยากจ่ายค่าหนี้บ้านไปตลอดชีวิตเกษียณ เราขอแนะนำ สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ ช่วยให้ลดภาระดอกเบี้ยให้น้อยลง จ่ายเงินต้นได้มากขึ้น ให้คุณเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วอย่างใจต้องการ

สมัครสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 2 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance)

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา อยู่ระหว่าง 6.16% – 6.35% โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี
  • ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
  • อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :