อีกไม่กี่อึดใจวันหยุดยาวจะมาถึงอีกแล้ว หลายคนคงมีแพลนเที่ยววันหยุดยาว หรือเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมครอบครัว ซึ่งทุกกิจกรรมล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะ ค่าตั๋วเครื่องบิน โรงแรมค่าน้ำมันรถ ค่ารถทัวร์ ค่าของฝาก รวมถึง ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ อีกมากมาย หากวันหยุดยาวใช้เงินเพลินเกินตัว ขาดการวางแผนที่ดี อาจทำให้เงินโบนัสที่ได้มา รวมถึงเงินเดือนอาจจะหมดก่อนสิ้นเดือนแน่ๆ สุดท้ายก็หมุนเงินไม่ทัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินช็อต หรือเงินไม่พอใช้ช่วงปลายเดือน วันนี้เรามีเทคนิควางแผนการเงินก่อนไปที่ยว และวิธีบริหารเงินหลังวันหยุดยาว ให้มีชีวิตรอดไปจนถึงสิ้นเดือนมาฝาก
เคล็ดลับบริหารเงินก่อนวางแผนเที่ยววันหยุดยาว
เวลามีรายได้เข้ากระเป๋าไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนหรือผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ควรแบ่งเงินออกเป็น 3 ก้อน เพื่อให้บริหารเงินง่ายขึ้น เพราะรู้ว่าเงินก้อนไหนต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งสูตรการแบ่งเงินที่นิยมใช้กันก็คือ 50-30-20 โดยแบ่งเป็น เงินใช้จ่ายประจำวัน-เงินใช้จ่ายส่วนตัว-เงินเก็บ ตามลำดับ แน่นอนว่า เงินก้อนที่จะต้องนำมาใช้ในสำหรับเที่ยวช่วงวันหยุดยาวคือ เงินใช้จ่ายส่วนตัว เพราะถือเป็นก้อนฟุ่มเฟือย แต่จะใช้อย่างไรไม่ให้กระทบเงินก้อนอื่น คุณสามารถนำทริกเหล่านี้ไปใช้ได้เลย
1. เขียนแผนค่าใช้จ่ายเพื่อวางแผนการเงิน
ก่อนวันเดินทางไปเที่ยวจะมาถึงคุณต้องเขียนแผนการใช้เงินว่ามีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง และแต่ละกิจกรรมมีค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณเท่าไร จะได้คุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินงบและลดโอกาสการเสียเงินโดยไม่จำเป็น เช่น
- เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น ค่าโรงแรม ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าชอปปิง ค่ากิน ค่าประกันเดินทาง ฯลฯ
- กลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัว เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าตั๋วรถทัวร์) ค่าของฝาก ค่าสังสรรค์วันพบญาติ ฯลฯ
หากเราจ่ายเงินแบบขาดการวางแผนที่ดี อาจจะทำให้เราใช้เงินเกินงบ และไม่เห็นค่าใช้จ่ายที่แท้จริงว่า ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่สามารถประหยัดลงได้อีก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินที่เราเหลือใช้หลังวันหยุดยาวได้
2. หาดีลหรือโปรโมชันเพื่อประหยัดเงิน
แม้ว่าค่าใช้จ่ายในวันหยุดยาวจะมีหลายรายการ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องจ่ายเป็นเงินก้อนในราคาเต็มทั้งหมด เพราะปัจจุบันมีดีลส่วนลดหรือโปรโมชันมากมายที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เช่น
- จองตั๋วเครื่องบิน หรือที่พักล่วงหน้า เราแนะนำให้ลองเช็กโปรโมชันตั๋วเครื่องบินและที่พักทั้งจากเว็บไซต์ต่างๆ และจองกับสายการบิน หรือที่พักโดยตรง ว่าจองแบบไหนจะได้ส่วนลดมากกว่ากัน ในกรณีนี้จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายลงได้
- บัตรเข้าสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์หรือสวนสนุก อาจจะซื้อล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ที่มีส่วนลดให้ เพื่อประหยัดค่าตั๋วเมื่อเทียบกับการจ่ายราคาเต็มหน้างาน แถมยังช่วยเลี่ยงการต่อคิวนานๆ จนบัตรหมดอดเที่ยวได้
- ซื้อของกลับบ้านเยี่ยมครอบครัว ปัจจุบันของบางอย่างสามารถซื้อล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ มีโค้ดลดสินค้าในแคมเปญต่างๆ มากมาย การซื้อของแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณประหยัดงบส่วนนี้มากขึ้นกว่าเดิม
เคล็ดลับบริหารเงิน ให้มีเงินใช้หลังเที่ยววันหยุดยาว
หลังวันหยุดยาว หรือทริปการเดินทางท่องเที่ยวผ่านพ้นไป หลายครั้งที่พบว่า เรามักจะใช้เงินไปเยอะพอสมควร แต่เมื่อมองดูปฏิทินก็พบว่าอีกหลายวันกว่าจะสิ้นเดือนที่เงินเดือนรอบใหม่จะเข้าบัญชีอีกครั้ง ระหว่างนี้คุณอาจจะคิดไม่ตกว่า จะทำอย่างไรให้มีเงินใช้ไปจนถึงสิ้นเดือน แต่ความกังวลใจเรื่องเงินจะหมดไป หากคุณทำตามวิธีเหล่านี้
1. สรุปรายจ่ายทั้งหมด
ในเมื่อมีการตั้งงบประมาณที่จะใช้ต่อทริปก่อนถึงวันเที่ยวแล้ว หลังจากทริปท่องเที่ยวจบลงคุณควรทำสรุปรายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการเดินทางแต่ละครั้งไปด้วย วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และมีเงินเหลือใช้จนถึงสิ้นเดือนหรือจนกว่าจะถึงเวลาเงินเดือนออกเท่าไหร่ จากนั้นก็คำนวณเฉลี่ยหางบประมาณที่จะสามารถใช้ได้ในแต่ละวัน เพื่อที่คุณจะได้รู้ลิมิตตัวเองว่าสามารถใช้จ่ายต่อวันได้เท่าไร เพื่อที่จะประคับประคองตัวเองไปจนถึงวันเงินเดือนออกได้
2. เซฟงบด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (ชั่วคราว)
การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอาจจะเป็นเรื่องที่พูดง่ายและต้องใช้ความเข้มแข็งของใจอย่างมาก เพราะค่าใช้จ่ายบางรายการนั้นดีต่อใจทำให้เรามีความสุข แต่หากคุณไม่จัดลำดับของรายจ่ายในช่วงสภาวะที่เงินตึงมืออาจจะทำให้คุณมีความทุกข์ตามหลังมาได้ ดังนั้น ในช่วงหลังจบทริปเที่ยวที่เงินตึงๆ มือ ควรอดใจและตัดขาดกับรายจ่ายประเภทค่าปาร์ตี้สังสรรค์ ค่าชอปปิงของลดราคา ฯลฯ ลงก่อน เพื่อรอเงินเดือนก้อนใหม่เข้ามาค่อยชอปปิงก็ยังไม่สาย
3. เช็กส่วนลดและสิทธิประโยชน์ที่มี
ไม่มีช่วงไหนที่จะเหมาะกับการใช้ส่วนลดและสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิต, ค่ายมือถือที่ใช้บริการ สมาชิกร้านค้า-ร้านอาหาร รวมถึง บัตรสะสมแต้ม ได้มากเท่าช่วงที่มีงบในการใช้เงินอย่างจำกัดในแต่ละวันอีกแล้ว ดังนั้น หากคุณรู้ตัวว่าใช้เงินกับการหยุดยาวหรือทริปท่องเที่ยวไปเยอะ เราแนะนำให้คุณเช็กสิทธิประโยชน์จากระบบสมาชิกทั้งหมดที่คุณมีอยู่ เช่น
- แลกคะแนนบัตรเครดิตเป็นส่วนลดค่ากาแฟ ค่าซื้อของใช้จำเป็นเข้าห้อง ฯลฯ
- ส่วนลดค่าอาหารในแต่ละมื้อ หรือสิทธิประโยชน์การลดค่าอาหารของค่ามือถือแต่ละค่าย
- แลกรับคูปองส่วนลดร้านค้าอื่นๆ
- การใช้คะแนนสะสมแทนเงินสดในร้านสะดวกซื้ออื่นๆ
หลายคนอาจจะมองข้ามสิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป แต่เราอยากบอกว่า คะแนนสะสมและสิทธิประโยชน์เหล่านี้ ถือเป็นตัวช่วยชั้นดีที่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตในช่วงปลายเดือน หรือช่วงเวลาที่ต้องประหยัดเงินได้ดีทีเดียว รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของตัวเองกันด้วยนะ
สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ ตัวช่วยดีๆ สำหรับคนอยากมีเงินสำรองฉุกเฉิน
สำหรับใครที่กำลังกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในช่วงวันหยุดยาว หรือหลังทริปเที่ยว เพราะพยายามบริหารและวางแผนการเงินแล้ว แต่ก็ไม่อาจหลุดพ้นภาวะฝืดเคืองทางการเงินหลังจากการทริปเที่ยวช่วงวันหยุดยาวไปได้ แม้ว่าจะบริหารเงินอย่างรอบคอบแล้ว แต่เรื่องฉุกเฉินทางการเงินก็มีได้หลายรูปแบบเช่นกัน และไม่ว่าคุณจะเจอเรื่องฉุกเฉินแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์จำเป็นสำหรับทำงาน คอร์สเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ฯลฯ สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ช่วยคุณได้
สินเชื่อเงินสด เอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป ตัวช่วยที่จะทำให้คุณมีเงินสำรองในยามฉุกเฉินตลอดเวลา ในรูปแบบของวงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร ที่คุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องหาตู้กดเงินหรือใช้บัตรกดเงินสดให้ยุ่งยาก คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น
สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/extra.html
- แอดไลน์ @cimbpersonalloan https://lin.ee/I1JAHpA
- สมัครสินเชื่อออนไลน์ ผ่านแอป CIMB THAI ของธนาคาร ดาวน์โหลดได้เลย ทั้งระบบ IOS และ Android คลิก
เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ย CLR ณ วันที่ 4 ต.ค. 66 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777