ในปัจจุบันนี้สังคมไทยเปิดกว้างในเรื่องเพศทางเลือกมากขึ้น และครอบคลุมไปถึงการกู้ซื้อบ้านร่วมกันด้วย ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคู่รัก LGBTQ+ สามารถขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านร่วมกันได้ สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ร่วม ไม่ว่าจะเป็น รายละเอียดในการซื้อบ้านร่วมกัน และเอกสารที่ต้องใช้สำหรับขอสินเชื่อบ้านจากสถาบันการเงิน บทความนี้รวมทุกคำตอบไว้ให้คุณแล้ว
การกู้ร่วม คืออะไร?
การกู้ร่วม คือ การเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน โดยผู้ที่กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็น คู่สมรส, พ่อ/แม่, พี่น้อง หรือญาติ เท่านั้น โดยธนาคารจะเป็นฝ่ายกำหนดจำนวนผู้กู้ร่วมไว้กี่คนก็ได้ เช่น สามารถกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน เป็นต้น และการที่ธนาคารจะเลือกอนุมัติสินเชื่อนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณารายได้ของแต่ละคนว่ามีกำลังในการผ่อนต่อเดือนแค่ไหน บวกกับวงเงินที่เราขอกู้ไปด้วย
ทำไมต้อง “กู้ร่วม”
เพราะการซื้อบ้าน 1 หลังนั้น นอกจากต้องมีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว จำเป็นต้องมีรายได้ที่มากพอด้วย ดังนั้นการกู้เพียงคนเดียว ทางสถาบันการเงินอาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ไม่ถึงราคาบ้านที่ซื้อ ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถซื้อบ้านได้ คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะกู้ร่วม โดยนำเงินรายได้ของผู้กู้ร่วมมารวมกัน เพื่อให้เพียงพอตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินนั่นเอง
คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้ไหม?
หากเราต้องการขอสินเชื่อกู้ร่วม บุคคลที่จะมากู้ร่วมกับเราจะต้องมีสายเลือดเดียวกัน หรือเป็นคู่สามี ภรรยาที่จะจดทะเบียนสมรสแล้ว หรือยังไม่จดก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานว่าเป็นคู่รัก เช่น ภาพถ่ายงานแต่งงาน หรือ เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
สำหรับสาเหตุที่คู่รัก LGBTQ+ ยังไม่สามารถกู้ร่วมได้นั้น มาจากไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในทางนิตินัยได้นั่นเอง แต่เมื่อปี 2563 คณะรัฐมนตรีได้ผ่านร่าง พรบ.คู่ชีวิต ของ LGBTQ+ แล้ว และแม้จะยังไม่ได้ประกาศใช้จริง แต่ก็มีหลายสถาบันการเงินที่อนุมัติให้ LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมได้ โดยมีเงื่อนไขเหมือนกับการกู้ร่วมของคู่รักชาย-หญิง ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส คือต้องมีการยืนยันความสัมพันธ์ตามที่ทางธนาคารได้กำหนดไว้นั่นเอง
การคำนวณวงเงินการกู้ร่วม
การคำนวณวงเงินกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ทางสถาบันการเงินจะนำรายได้สุทธิ หรือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด ลบหนี้รายเดือนแล้วมาคำนวณ โดยปกติทางธนาคารจะคำนวณรายได้สุทธิของแต่ละบุคคลไว้ที่ประมาณ 60%-70%
ตัวอย่าง
ถ้ามีรายได้ 30,000 บาท รายได้สุทธิ 70%
= 21,000
บาท
ลบด้วยหนี้สิน เช่น ค่าผ่อนสินค้าเดือนละ 5,000 บาท
เหลือสุทธิ = 16,000 บาท
เมื่อรวมกับผู้กู้ร่วม
ในทางกฎหมายจะต้องรับผิดชอบหนี้ = 32,000 บาท
เป็นส่วนเท่าๆ กัน จึงมีเงินเหลือสุทธิรวมสองคน
วิธีคำนวนยอดวงเงินกู้สินเชื่อบ้าน
ยอดผ่อนชำระหนี้สูงสุดต่อเดือน x 1,000,000 / 7,000 จะเท่ากับ (32,000 x 1,000,000)/7,000 = 4,571,428 ~ 4,500,000 บาท ดังนั้น วงเงินกู้สูงสุด (ที่เป็นไปได้คือ) ประมาณ 4,500,000 บาท
เอกสารกู้ซื้อบ้าน ที่ต้องเตรียมก่อนขอสินเชื่อบ้าน
ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีการขอเอกสารสำหรับการยื่นขอสินเชื่อบ้านที่แตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วเอกสารที่คุณต้องเตรียมสำหรับการขอสินเชื่อบ้าน จะประกอบไปด้วย
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
- สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
- และมีเอกสารอื่นๆ ของผู้กู้ร่วม LGBTQ+ เช่น
- ต้องเปิดบัญชีร่วมกัน
- ต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันของทางธนาคาร
- รูปถ่ายงานมงคลสมรส (ถ้ามี)
- รูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริงๆ
- ทะเบียนบ้านที่มีชื่อทั้งสองคน เพื่อยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกันจริง
- เอกสารในการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์ (ถ้ามี)
- เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน (ถ้ามี)
- ต้องเซ็นในใบสมัครสินเชื่อบ้านว่ามีความสัมพันธ์เป็นคู่รักกับผู้กู้หลัก
กรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ+
คู่รัก LGBTQ+ ที่ทำการกู้ร่วมซื้อบ้าน มีเงื่อนไขการแบ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ 2 รูปแบบ คือ
- ยื่นขอสินเชื่อกู้ร่วม แต่มีชื่อคนคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
- ยื่นขอสินเชื่อกู้ร่วม และใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่ง มักกำหนดเงื่อนไขสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน ว่าจะต้องเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านแบบถือครองกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกันเท่านั้น
กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เลิกกันจะทำอย่างไรดี
ในกรณีที่คู่รัก LGBTQ+ ยื่นเรื่องกู้ร่วมซื้อบ้านแล้วแต่แยกทางกันในภายหลัง จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ และมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้วย เนื่องจากเป็นการกู้ร่วมแบบถือครองกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกันนั่นเอง
เคล็ดลับการขอสินเชื่อบ้านง่ายๆ สำหรับคู่รัก LGBTQ+
- เช็กสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อบ้านให้กับกรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน
- ตรวจเอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อบ้าน สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน และเตรียมไว้ให้พร้อม
- เลือกรูปแบบสินเชื่อที่ LGBTQ+ สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้
ทั้งนี้เพราะสถาบันการเงินบางแห่งแม้จะเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งแตกต่างไปตามข้อกำหนดของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ดังนั้น หากเป็นไปได้ เราแนะนำให้คุณเลือกพิจารณาสถาบันการเงินที่ให้ LGBTQ+ ขอสินเชื่อบ้านร่วมกันได้จะดีกว่า
สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่กำลังมองหาบ้านหลังใหม่สำหรับใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน และกำลังมองหาสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ ที่มีความหลากหลายตรงความต้องการของทุกคน เราขอแนะนำ สินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบ้านสำหรับคู่รักเพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมกัน โดยให้ถือกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน กู้ได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง รีไฟแนนซ์บ้าน รวมถึง สินเชื่ออเนกประสงค์
สมัครสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 2 ช่องทาง
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/home4u.html
- แอดไลน์ @cimbhomeloan https://lin.ee/I1JAHpA
เงื่อนไขสินเชื่อมีหลักประกัน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- สินเชื่อบ้าน (Home Loan 4 U) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.04% - 6.19%
- สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.98% - 6.23%
- สินเชื่อบ้านอเนกประสงค์ (Mortgagepower) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.57% - 6.71%
- โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี
- อ้างอิง MRR = 9.125% ต่อปี ประกาศ ณ. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777