วิธีบริหารเงินช่วงภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น

วิธีบริหารเงินช่วงภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น

ช่วงนี้หลายคนคงทราบข่าวกันแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ซึ่งแน่นอนว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลทำให้เราๆ ท่านๆ จะต้องจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นในทุกๆ เดือน ใครที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ คงต้องเตรียมรับมือกับสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นกันไว้ เพราะมีกระทบถึงทุกคนอย่างแน่นอน

รู้หรือไม่? เหตุใดจึงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยพยุงสถานการณ์เงินเฟ้อได้ ซึ่งจากเดือนสิงหาคม 2565 ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อแตะที่ระดับ 7.86% สูงสุดในรอบ 13 ปี (ข้อมูลจาก www.moc.go.th) *ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น

และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่เท่ากับ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

ใครบ้าง? ที่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น

แน่นอนว่า ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ย่อมส่งผลกระทบกับทุกคนอย่างถ้วนหน้า โดยมีทั้งผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ มาดูกันว่าใครบ้างที่ได้ ใครบ้างที่เสีย

1. กลุ่มที่ได้รับประโยชน์

1.1. ผู้ที่ฝากเงินกินดอกเบี้ย หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ที่มีเงินฝากไว้ในธนาคารได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

1.2. ผู้ที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงิน เช่น กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ กองทุนที่ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ แน่นอนว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นตามมา

2. กลุ่มที่เสียประโยชน์

2.1 คนที่มีภาระหนี้เงินกู้ การปรับดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลกระทบโดยตรงต่อคนที่มีภาระเงินกู้ ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด สินเชื่อบ้าน ที่ถึงแม้จะจ่ายค่างวดเท่าเดิม แต่จำนวนเงินที่จ่ายส่วนดอกเบี้ยจะมากขึ้น ทำให้หักเงินต้นได้น้อยลง (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านพุ่ง จัดการได้ด้วยการ รีไฟแนนซ์บ้าน)

2.2 ผู้ประกอบการธุรกิจ ดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจ การระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้เอกชน ที่จำเป็นต้องเสนออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น

บริหารเงินอย่างไร? ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น

จากที่กล่าวไปข้างต้น ว่าดอกเบี้ยขาขึ้น มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ แต่ไม่ว่ากลุ่มไหน จำเป็นต้องรู้จักการบริหารเงินให้ถูกวิธี โดยเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับตัวคุณเอง

1. กลุ่มหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด

อย่างที่เรารู้กันดีกว่า หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อ กลุ่มนี้นับได้ว่าดอกเบี้ยค่อนข้างสูง เมื่อดอกเบี้ยขึ้น จะยิ่งได้รับผลกระทบสูงมากขึ้น ดังนั้น จึงมีวิธีจัดการดังนี้

  • หากยังชำระหนี้ได้ปกติ ควรควบคุมค่าใช้จ่ายให้น้อยลง และระมัดระวังไม่สร้างภาระหนี้เพิ่ม
  • ควรรีบปิดหนี้บัตรเครดิต ที่มีดอกเบี้ยสูงให้เร็วที่สุด ห้าม!! เปิดบัตรเครดิตใหม่ มาปิดหนี้บัตรเก่าเด็ดขาด
  • ควรพยายามหา สินเชื่อเงินก้อน ดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่จะหาได้ มารีไฟแนนซ์บัตรเครดิต เพื่อช่วยลดภาระค่าดอกเบี้ยลง มิเช่นนั้นคุณอาจผ่อนไม่ไหวในอนาคตอันใกล้ได้

2. กลุ่มหนี้ซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม และอสังหาริมทรัพย์

จริงอยู่ที่ ดอกเบี้ยบ้านมีอัตราไม่สูงมากนัก แต่เป็นหนี้ที่มีมูลค่าสูง เมื่อคำนวณเป็นเงินที่ต้องจ่ายทำให้สูงมากขึ้น

  • ผู้ที่กำลังจะกู้ซื้อบ้านใหม่ : แนะนำให้หาโปรโมชั่นดอกเบี้ยคงที่ให้ได้นานที่สุด
  • ผู้ที่กู้ซื้อบ้านอยู่แล้ว : ให้หาทาง รีไฟแนนซ์บ้าน กับสถาบันการเงินที่มีข้อเสนอดอกเบี้ยคงที่หรือเงื่อนไขที่ดีที่สุด หรือทำเรื่องขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินเดิม

3. กลุ่มคนที่มีเงินเก็บในธนาคาร

นับว่าโอกาสดีได้มาเยือนคุณแล้ว ที่จะหาผลตอบแทนจากบัญชีเงินฝากจากสถาบันการเงินที่ให้ดอกเบี้ยดีที่สุด หรือถ้าจะลงทุนในหุ้นกู้ ก็ให้เน้นที่หุ้นกู้ระยะสั้น เพราะจะได้มีเงินครบกำหนดหมุนเวียนมาซื้อหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยดีขึ้นกว่าเดิม ดีกว่าที่เงินจะติดอยู่ในหุ้นกู้ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนเท่าเดิม

4. กลุ่มนักลงทุนหุ้น

ควรพิจารณาลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น กลุ่มธนาคาร ประกันชีวิต ลดการลงทุนในธุรกิจที่เสียประโยชน์ อย่างกลุ่ม Non-Bank ลีสซิ่ง เช่าซื้อ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

อยากบริหารหนี้ให้ดี มีวิธีเลือกรีไฟแนนซ์อย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีภาระหนี้ และอยากบริหารหนี้ด้วยการรีไฟแนนซ์นั้น เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำดังนี้

1. ดอกเบี้ยลดลงครึ่งหนึ่ง

อัตราดอกเบี้ยใหม่ควรลดจากเดิมครึ่งหนึ่ง อาทิ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากเดิม 16% หากทำการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต อัตราดอกเบี้ยใหม่ควรเหลือสัก 9-10% จะช่วยให้แบ่งเบาภาระหนี้ของคุณลงได้อีกเยอะ

2. คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ผ่อนยาวๆ ได้

จะทำให้คุณผ่อนจ่ายเบาลง และมีสภาพคล่องต่อเดือนมากขึ้น

3. สามารถโปะ-ปิดหนี้ได้

ควรเลือกสถาบันการเงินที่ โปะ-ปิดหนี้ได้ตลอดเวลา เพราะหากเราผ่านพ้นช่วงวิกฤต หรือจัดสรรภาระหนี้ได้ดีขึ้น ก็จะสามารถโปะหนี้เพื่อลดภาระหนี้ได้

เมื่อคุณรีไฟแนนซ์หนี้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีวินัยและรัดกุมการใช้จ่ายมากขึ้น และควรประเมินสถานการณ์ของตัวเองให้ดี หากรู้ว่าอีกไม่กี่เดือนอาจผ่อนต่อไม่ไหว ควรรีบติดต่อยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินก่อนที่จะมีปัญหาหรือมีการผิดนัดชำระเกิดขึ้น เพราะจะทำให้เจรจาได้ง่ายกว่า มิเช่นนั้นหากประวัติการเงินเสียแล้ว จะทำให้การอนุมัติเงินกู้ยากขึ้น

และสำหรับท่านใดที่ต้องการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หรือปิดหนี้บัตรเครดิต เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช และ สินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อสำหรับคนอยากมีเงินก้อนเพื่อปิดหนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยถูกกว่าการจ่ายขั้นต่ำ

สมัครสินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช (Personal Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 3 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 9.99% ถึง 25% ต่อปี

สมัครสินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 3 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย CLR ณ. วันที่ 4 ตุลาคม 2566 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :