Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568

เช็กรายละเอียด Easy e-Receipt 2568 ซื้ออะไร ลดหย่อนภาษีได้

สำหรับผู้เสียภาษีที่กำลังรอคอยนโยบายลดหย่อนภาษี หรือ Easy e-Receipt 2568 ที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาทและถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ Easy e-Receipt 2567 มาก่อนหน้านี้ แต่นโยบาย Easy e-Receipt 2568 มีรายละเอียดบางอย่างที่ผู้เสียภาษีต้องทำความเข้าใจก่อนวางแผนเริ่มซื้อสินค้าเพื่อลดหย่อนภาษี ดังนี้

Easy e-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี 2568 เริ่มเมื่อไร?


Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568 เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะสามารถใช้เป็น ค่าลดหย่อนภาษีปี 2568 ที่มีกำหนด ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงต้นปี 2569 เท่านั้น

Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568

Easy E-Receipt 2568 ซื้ออะไร? ใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?


ผู้เสียภาษีหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับนโยบาย Easy e-Receipt กันอยู่บ้างแล้ว ว่าเราสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษี 2568 ได้ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด แต่ Easy E-Receipt 2568 มีเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีที่แตกต่างจากนโยบาย Easy E-Receipt 2567 ไปเล็กน้อย ซึ่งในนโยบาย Easy E-Receipt 2568 นั้นค่าลดหย่อนภาษี 50,000 บาทจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท


ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ

  • ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน
  • ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน

2. ค่าใช้จ่ายร้านวิสาหกิจชุมชน SME สินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ 20,000 – 50,000 บาท


  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
  • มี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน

ซื้อหนังสือ หรือ E-BOOK ก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้


แม้ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ หากเป็นการซื้อสินค้าและบริการจากกลุ่มต่อไปนี้

  • หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
  • หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • กรณีที่ซื้อหนังสือ, E-Book สินค้า OTOP ที่ไม่ได้จดทะเบียน VAT สามารถใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แทนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • ค่าซื้อทองรูปพรรณ สามารถหักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice

หมายเหตุ

  • ทั้งสองวงเงินรวมกันแล้วสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
  • ไม่จำกัดจำนวนครั้ง หรือยอดขั้นต่ำในการซื้อสินค้า สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่เข้าเงื่อนไขมารวมบิลได้ แต่ต้องไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
  • กรณีที่ซื้อสินค้าหรือบริการแบบผ่อนชำระ (รวมถึง การซื้อสินค้าผ่านโปรผ่อน 0%) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนของราคาสินค้าหรือบริการนั้น ๆ แต่ไม่เกินเงื่อนไขที่กำหนด
  • สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://etax.rd.go.th หรือ สามารถดูสัญลักษณ์ Easy e-Receipt ภายในร้านค้าได้
  • ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt 2568 จะต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเท่านั้น

Easy e-Receipt 2568 ซื้อสินค้าอะไรใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่ได้?


  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ ยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมัน และก๊าซ ค่าบริการประจุไฟฟ้า สำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 ม.ค.2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ.2568 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค.2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568 ก็ตาม
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
  • ค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  • ค่าซื้อทองคำแท่ง เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายละเอียดที่ต้องระบุใน e-Tax Invoice เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี


สำหรับคนที่วางแผนชอปปิ้งกับนโยบาย Easy e-Receipt 2568 แต่ยังไม่มั่นใจว่า เอกสาร e-Tax Invoice ที่เราจะได้รับจากร้านค้าหรือผู้ประกอบการนั้น จะต้องระบุข้อมูลอะไรบ้างถึงจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีได้นั้น

  • ต้องมีเลขประจำตัวประชาชนผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
  • ที่อยู่ที่ระบุใน e-Tax Invoice จะเป็นที่อยู่ปัจจุบัน หรือที่อยู่บัตรประชาชนก็ได้
  • e-Tax Invoice จะต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพียงคนเดียวเท่านั้น

(ข้อมูลจาก https://www.taxbugnoms.co/e-tax-invoice-and-e-receipt/)

วิธีตรวจสอบเอกสารลดหย่อนภาษี Easy e-RECEIPT


สำหรับคนที่ซื้อของเข้าร่วมโครงการ Easy e- Receipt 2568 และต้องการที่จะตรวจสอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) ที่ได้รับจากร้านค้าว่าใบกำกับภาษีที่ได้มา สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษี ในปีภาษี 2568 (ยื่นต้นปี 2569) สามารถนำไฟล์ PDF ที่ได้รับจากผู้ประกอบการไปตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ validation.teda.th

ตรวจสอบใบกำกับภาษี (e-TAX invoice) กรมสรรพากร

วิธีดูผลการตรวจสอบ e-TAX invoice


  • e-TAX invoice & E-Receipt ผลการตรวจสอบ XML-Schema and Schematron (XML-Schema and Schematron Result) ต้องขึ้นว่า "ผ่าน" Digital Signature ต่างๆ ควรขึ้นว่า "น่าเชื่อถือ"
  • e-TAX Invoice by e-mail รายละเอียดตรงคำว่า ผลการตรวจสอบ PDF-Timestamp (PDF-Timestamp Result) ต้องขึ้นว่า "น่าเชื่อถือ"

รู้ได้อย่างไรว่า เราใช้ Easy e-Receipt 2568 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร?


สำหรับใครที่อยากรู้ว่าตัวเราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากนโยบาย Easy e-Receipt ได้เท่าไหร่นั้น คุณสามารถคำนวณภาษีเพื่อหารายได้สุทธิก่อนเริ่มต้นซื้อของ เพื่อวางแผนการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพและได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ที่สุด

วิธีคำนวณหารายได้สุทธิประจำปี

  • เงินได้ – ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (100,000 บาท) – ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท) = เงินได้สุทธิ

เช็กสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ก่อนช้อป Easy e-Receipt 2568


เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) ฐานภาษีเงินได้ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด
(ใช้จ่ายครบ 50,000 บาท)
0 – 150,000 ยกเว้น ไม่ได้รับสิทธิ์
150,001 – 300,000 5% 2,500 บาท
300,001 – 500,000 15% 7,500 บาท
750,001 – 1,000,000 20% 10,000 บาท
1,000,001 – 2,000,000 25% 12,500 บาท
2,000,001 – 5,000,000 30% 15,000 บาท
5,000,001 ขึ้นไป 35% 17,500 บาท

ทั้งหมดนี้ คือรายละเอียดเบื้องต้นสำหรับการใช้ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568 และหากมีข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ เราจะรีบอัปเดตรายละเอียดอื่นๆ ให้คุณทราบทันที และคุณมีความกังวลใจหลังจากคำนวณภาษี หรือไม่มั่นใจว่าจะสามารถวางแผนทางการเงินทันก่อนถึงเวลาที่ต้องจ่ายภาษีหรือไม่

เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ วงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร ช่วยให้คุณมีเงินสำรองพร้อมใช้ตลอดเวลา พร้อมความสะดวกสบาย เพราะคุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องง้อบัตร คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น

สมัครสินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย วงเงินสำรองพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง

เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย CLR-2% – CLR+5%
  • อัตราดอกเบี้ย CLR ณ วันที่ 1 พ.ย. 67 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.55% ต่อปี (CLR-14.45%) นาน 5 รอบ บัญชีแรก หลังจากนั้นปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น18% ต่อปี (CLR-2%)
  • อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :